บท

อธิบายคุณลักษณะของสถานะซื้อขาย

การเทรดฟอเร็กซ์และ CFD เป็นผลิตภัณฑ์ที่เปิดให้ใช้เลเวอเรจ หมายความว่าหากตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับสถานะของคุณ การขาดทุนของคุณจะถูกคูณด้วยอัตราส่วนเลเวอเรจที่คุณเลือกใช้ เทรดเดอร์บางคนเลือกใช้อัตราส่วนเลเวอเรจที่สูงเนื่องจากสามารถช่วยเพิ่มผลกำไรได้หลายเท่าเมื่อตลาดเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่พวกเขาวางสถานะไว้ แต่ก็ควรตระหนักด้วยว่าอัตราส่วนเลเวอเรจที่สูงขึ้นแปลว่าขาดทุนได้มากขึ้นเช่นกัน เมื่อพูดถึงการเทรด สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าคุณเข้าใจวิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ ได้อย่างที่คุณต้องการ

เลเวอเรจ
เมื่อคุณซื้อบ้าน คุณมักจะต้องวางเงินดาวน์และยืมเงินส่วนที่เหลือ จำนวนเงินที่คุณยืมเรียกว่าสินเชื่อหรือเลเวอเรจ เช่นเดียวกับในการเทรด หากคุณต้องการเทรดในปริมาณที่มากกว่าที่คุณเป็นเจ้าของ คุณต้องตั้งเลเวอเรจตามนั้น โบรกเกอร์มักจะเสนออัตราส่วนเลเวอเรจที่แตกต่างกันไปตั้งแต่ 1:50 ถึง 1:1000 สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่ายิ่งเลเวอเรจสูงเท่าไร ผลขาดทุนหรือกำไรของคุณก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เมื่อใช้เลเวอเรจ เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเข้าใจว่าคุณกำลังเพิ่มความเสี่ยง และเพื่อป้องกันไม่ให้คุณเลือกใช้เลเวอเรจสูงกว่าที่คุณสามารถรับมือได้ในฐานะเทรดเดอร์ ทาง BDSwiss จะทำการทดสอบความเหมาะสม หากคุณมีความรู้ไม่เพียงพอในการใช้เลเวอเรจอย่างเหมาะสม คุณจะถูกจำกัดอัตราส่วนเลเวอเรจที่ต่ำลง แต่ตอนนี้เรากลับไปที่กลไกการทำงานของเลเวอเรจกันก่อน…

ในการทำธุรกรรมสกุลเงิน หากเลเวอเรจคือ 1:50 สำหรับเงินของคุณทุกๆ หนึ่งยูโร คุณกำลังยืมอีก 49 ยูโร โดยพื้นฐานแล้ว เงินแต่ละยูโรของคุณจะถูกคูณด้วย 50 ดังนั้น หากคุณเปิดสถานะ €1,000 โดยใช้เลเวอเรจ 1:50 คุณต้องมียอดเงินในบัญชีของคุณอย่างน้อย €20 คุณต้องวางเงินไว้ €20 และยืมอีก €980

มาร์จิ้น
ในขณะที่เลเวอเรจคือจำนวนเงินที่ยืม มาร์จิ้นคือจำนวนเงินของคุณที่ใส่เข้าไป มาร์จิ้นหรือหลักประกันคือจำนวนเงินที่คุณลงไปในการเทรดและเป็นจำนวนเงินที่คุณยอมรับการขาดทุนได้หากตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับคุณ ย้อนกลับไปที่ตัวอย่างก่อนหน้านี้ ที่คุณลงทุนไป €20 หมายถึง “มาร์จิ้นเริ่มต้น” เท่านั้น นอกจากนี้มาร์จิ้นยังเป็นคำที่ใช้สำหรับจำนวนเงินที่คุณต้องเก็บไว้ในบัญชีของคุณเพื่อรักษาสถานะที่เรียกว่ามาร์จิ้นรักษาสภาพ ซึ่งหมายความว่าหากคุณขาดทุนมากกว่า €20 คุณอาจยังคงเปิดสถานะไว้ได้ แต่โดยพื้นฐานแล้วคุณจะต้องเสี่ยงกับมาร์จิ้นที่เหลือของคุณ กล่าวคือ ยอดคงเหลือในบัญชีของคุณ หากตลาดยังคงเคลื่อนไหวสวนทางกับคุณ

ท้ายที่สุดแล้ว หากสถานะของคุณมีแนวโน้มว่าจะลบล้างบัญชีของคุณ ก็จะมีจุดที่สถานะถูกปิดโดยอัตโนมัติ เรียกว่าการเรียกมาร์จิ้นเพิ่ม ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละโบรกเกอร์ เมื่อคุณได้รับการเรียกมาร์จิ้นเพิ่มและถ้าหากคุณต้องการจะรักษาสถานะให้เปิดต่อไป การปิดสถานะโดยอัตโนมัติสามารถป้องกันได้โดยการฝากเงินเพิ่ม หากคุณใช้ MT4 จำนวนเงินที่คุณยังสามารถใช้เทรดได้มักจะเรียกว่า “มาร์จิ้นที่ใช้งานได้” ในขณะที่จำนวนเงินทุนของคุณที่กำลังถูกใช้มักจะเรียกว่า “มาร์จิ้นที่ใช้ไปแล้ว”

ความเสี่ยง
ความเสี่ยง หมายถึงจำนวนเงินที่คุณยอมเสี่ยง แต่ดังที่เราได้อธิบายไปแล้ว ความเสี่ยงในการเทรดฟอเร็กซ์ได้รับผลกระทบจากปริมาณเลเวอเรจและมาร์จิ้น ในฟอเร็กซ์ เลเวอเรจที่สูงสามารถเพิ่มผลกำไรได้หลายเท่า แต่ก็สามารถทำให้ยอดเงินทั้งหมดของคุณตกอยู่ในความเสี่ยงได้เช่นกัน การจัดการความเสี่ยงจึงมีความสำคัญมาก และในฐานะเทรดเดอร์ คุณต้องแน่ใจว่าคุณคุ้นเคยกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเทรดผลิตภัณฑ์ที่เปิดให้ใช้เลเวอเรจแล้ว เช่น ฟอเร็กซ์และ CFD

Stop, Limit, Trailing Stop และความคลาดเคลื่อนของราคา
เมื่อการเทรดผิดแผน คุณมีเพียงสองทางเลือก: ยอมรับการขาดทุนและชำระบัญชีในสถานะของคุณ หรือล้างบัญชี เทรดเดอร์ที่รอบคอบจึงวางสถานะ CFD ของพวกเขาพร้อมกับคำสั่ง Stop และ Limit เสมอ หากข้ามขั้นตอนนี้ไป คุณจะเสี่ยงต่อการอยู่ในสถานะที่ขาดทุนนานเกินไปโดยหวังว่ามันจะฟื้นตัว หรือคว้าประโยชน์จากสถานะที่ทำกำไรได้ไม่ทันเวลา

เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องจำไว้ว่าอย่าปล่อยให้สถานะ CFD เปิดอยู่โดยไม่มีใครดูแล! หากคุณไม่ได้คอยสังเกตสถานะที่เปิดอยู่อย่างต่อเนื่อง คุณจำเป็นต้องกำหนดระดับ Stop และ Limit เอาไว้ สิ่งนี้จะปกป้องคุณจากความผิดคาดใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น

คุณมีตัวเลือกดังต่อไปนี้:
Stop-Loss – จำกัดการขาดทุน
หากคุณต้องการวางหรือแก้ไขการเทรดหรือคำสั่ง คุณสามารถกำหนด Stop-Loss ได้ สิ่งนี้จะปกป้องคุณจากการขาดทุนที่มากขึ้น เนื่องจากมันจะปิดสถานะของคุณโดยอัตโนมัติที่ราคาตลาดถัดไปเมื่อแตะระดับ Stop โดย SL จะทำหน้าที่ประกันต่อการขาดทุนมากเกินไป เพื่อให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม จุด Stop จะต้องวางตามคำถามต่อไปนี้: คุณคิดผิดเรื่องราคาที่ตรงไหน?

เพื่อตอบคำถามดังกล่าว เราต้องคำนึงถึงสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเทรดแต่ละครั้ง อย่างเช่น มีความผันผวนมากหรือไม่? เป็นสถานะ Long หรือ Short? กำลังจะมีข่าวสำคัญที่อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อสินทรัพย์ที่คุณเทรดหรือไม่? เปอร์เซ็นต์สูงสุดของการเปลี่ยนแปลงในราคาที่เกินกว่าที่คุณคิดว่าการขาดทุนนั้นจะเกินความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้คือเท่าใด? ที่สำคัญกว่านั้น หากคุณมีการเทรดดำเนินอยู่หลายรายการ การพิจารณาความเสี่ยงโดยรวมที่คุณเปิดรับจากคำสั่ง SL ของคุณถือเป็นเรื่องสำคัญ ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด คือคำสั่งทั้งหมดของคุณหยุดลง การขาดทุนรวมจะเป็นจำนวนเท่าไหร่? จะสอดคล้องกับกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงของคุณหรือไม่?

*โปรดสังเกตความแตกต่างของจุดขั้นต่ำสุดที่ใช้ได้เมื่อวางคำสั่ง Stop-Loss

Take-Profit – รักษากำไรไว้
ตามหลักการเดียวกันกับระดับ Stop-Loss คุณยังสามารถล็อคผลกำไรได้โดยอัตโนมัติ ระดับ Take-Profit สามารถปกป้องคุณจากการเทรดที่ทำกำไรที่เปลี่ยนไปเป็นการเทรดที่ทำกำไรได้น้อยลงหรือแม้แต่การเทรดที่ขาดทุน

*โปรดสังเกตความแตกต่างของจุดขั้นต่ำสุดที่ใช้ได้เมื่อวางคำสั่ง Take-Profit

ตัวอย่างและกราฟิกต่อไปนี้มีขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการอธิบายเท่านั้น และไม่ควรถือเป็นคำแนะนำในการเทรด:

ตัวอย่าง
คุณเปิดสัญญามาตรฐาน (Long) สำหรับคู่เงิน EUR/USD ตามที่กราฟแสดง และขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวของตลาด สถานะจะถูกปิดโดยอัตโนมัติหากถึงระดับ Stop หรือ Limit

ซึ่งจะช่วยให้คุณมีสถานะที่เปิดอยู่โดยไม่ต้องคอยจับตามองทุกฝีก้าว!

Trailing-Stop – ไปตามเทรนด์
ด้วย Trailing-Stop คุณจะได้รับประโยชน์จากเทรนด์ที่ยังไปต่อ การกลับตัวของเทรนด์จะนำไปสู่การปิดสถานะของคุณโดยอัตโนมัติโดยขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ขั้นแรกคุณต้องกำหนดระดับ Stop จากนั้นด้วยความช่วยเหลือของการกำหนดเฉพาะจุด (เป็นหน่วยหนึ่งในสิบของ Pip) คุณเป็นผู้กำหนดว่าระดับ Stop ของคุณควรปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างไร

ตัวอย่าง
คุณเปิดสัญญามาตรฐาน (ขาย) สำหรับคู่เงิน EUR/USD ที่ราคา $1.08486 โดยมี Stop-Loss อยู่ที่ $1.08986 Short และมี Trailing-Stop อยู่ที่ 50 จุด ราคาปรับลง 50 จุด ซึ่งทำให้ระดับ Stop ใหม่ของคุณถูกตั้งไว้ที่ $1.08486 ตราบใดที่เทรนด์ยังคงดำเนินต่อไปในทำนองนี้ ระดับ Stop-Loss ของคุณจะมีการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง การปรับขึ้นอย่างกะทันหันของราคา EUR/USD จะทำให้สถานะของคุณถูกปิดโดยอัตโนมัติ

ความคลาดเคลื่อนของราคา
เมื่อวางคำสั่งซื้อขายโดยตรงในตลาด ความผันผวนอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในราคาเริ่มต้นระหว่างการวางกับการดำเนินการเทรด ราคาซื้อขายที่จองไว้อาจเป็นภัยต่อกลยุทธ์การเทรดของคุณ เพื่อป้องกันสถานการณ์นี้ เราจึงมี Price Tolerance หรือความคลาดเคลื่อนของราคา ด้วยความคลาดเคลื่อนของราคา คุณจะกำหนดค่าเบี่ยงเบนสูงสุดระหว่างราคาเสนอซื้อ/เสนอขายปัจจุบันที่คุณยินดีจะยอมรับในหน่วยจุด

ตัวอย่าง
ราคาเสนอซื้อ/เสนอขาย EUR/USD ปัจจุบันเทรดกันที่ $1.08501/$1.08517 คุณต้องการปล่อยสถานะ Long และยินดียอมรับค่าเบี่ยงเบนราคาสูงสุดที่ 5 จุด การเทรดของคุณจะถูกเปิดก็ต่อเมื่อราคาเสนอขายต่ำกว่า $1.08522 มิฉะนั้นการเทรดจะถูกปฏิเสธโดยระบบ